LGBTQ Financial Planning

LGBTQ & Wealth

สร้างความมั่นคงทางการเงิน ให้กับตัวเอง และคู่ชีวิต 

โดยแผนการเงินที่ออกแบบมาโดยเฉพาะคุณ

เพราะเราตระหนักถึงสิทธิ และ ควาต้องการในการดูแล.คู่ชีวิต เราจึงสร้างพอร์ตการเงินที่สามารถให้คุณ และ คู่ชีวิต มั่นใจในอนาคตทางการเงินที่สามารถเลือกผู้รับผลประโยชน์ ให้ต่อกันได้อย่างถูกต้อง โดยมีที่ปรึกษาการเงินส่วนตัวคอยแนะนำ

ในปัจจุบันหลายองค์กร รวมทั้งสถาบันการเงิน ได้เปิดกว้างให้กับทุกเพศ ทุกวัย ในการทำธุรกรรมทางการเงิน ที่มีลักษณะเป็น คู่ชีวิต หรือ ครอบครัวเพิ่มมากขึ้น แต่วิธีการที่จะทำให้เหมาะสมถูกต้อง ยังมีข้อมูลที่น้อยอยู่

ด้วยผู้เขียนเองก็เป็น หนึ่งในเพศทางเลือก และเป็นที่ปรึกษาด้านการเงินการลงทุน จึงมีความเข้าใจถึงความต้องการทางสิทธิขั้นพื้นฐาน การสร้างความมั่นคงด้านการเงินให้กับตัวเอง ครอบครัว และ คนที่เรารัก เราจึงได้จัดทำแผนการลงทุนมาเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เพื่อนๆ ได้ลองวางแผน หรือ ถ้าท่านไหน อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม หรือ คำแนะนำฟรี

ตัวอย่างแผนการลงทุนสำหรับ LGBTQ (Click) เพื่อดูแผนทั้งหมด

LGBTQ Plan

สิ่งสำคัญในการวางแผนการเงิน การลงทุน สำหรับ LGBTQ

  • แผนสุขภาพ :  เป็นแผนเริ่มตันของการวางรากฐานไปสู่แผนการเงินอื่นๆ การเลือกประกันสุขภาพ อย่างน้อยควรต้องเป็นแผนเหมาจ่าย 1 ล้านบาทขึ้นไป และ เพิ่มเติมความคุ้มครองอื่นๆ ตามความเสี่ยงของตัวเอง และ ครอบครัว เช่น การมีประวัติของครอบครัวเป็นมะเร็ง หรือ โรคร้ายแรง ลักษณะแบบนี้ก็ทำให้สมาชิกในครอบครัวมีความเสี่ยงเช่นกัน   

โดยแผนนี้เปรียบเสมือน การทำโครงสร้างบ้าน ต้องแข็งแรงมั่นคง มีการรับประกัน และ ต้องคุ้มครองดูแลเราได้ในระยะยาว สิ่งที่ผู้ใหญ่รุ่นคุณพ่อ-คุณแม่ จะกังวลกับการมีลูก หรือ คนในครอบครัวเป็นเพศทางเลือก คือ กลัวไม่มีคนดูแลตอนเกษียณ ไม่มีครอบครัวที่มั่นคง แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน เรื่องเหล่านี้ เราสามารถจัดสวัสดิการ คุณภาพชีวิต ของเราเองได้ โดยสร้างพอร์ต จัดระเบียบการเงินให้ดี  ไม่ว่าจะอยู่แบบโสดๆ หรือ มีคู่ชีวิต รับรองว่าจะ เกษียณแบบลัลล้าแน่นอน

  • แผนรับรองรายได้ :  แผนที่ทำให้ทั้งตัวเรา และ ครอบครัว เกิดความมั่นคงทางใจ และ การดำเนินชีวิตประจำวัน โดยปกติส่วนนี้ควรจะต้องเตรียมไว้อย่างน้อย 3-6 เท่าของรายจ่ายปกติ แต่เหตุการณ์ โควิท-19 ทำให้รู้ว่า ยิ่งเตรียมไว้มากเท่าไหร่ยิ่งดี

ไม่ว่าเราจะเป็นเสาหลัก หรือ ยังเกื้อกูลกันในครอบครัว   หากบริหารแผนนี้แล้ว ต่อให้เกิดเหตุไม่คาดคิด ก็จะมีเงินสำรองมาใช้บริหารจัดการต่อไปได้ในยามที่จำเป็น   ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ วิกฤตโควิท-19 หากไม่มีการเตรียมเงินส่วนนี้ไว้ ก็มักจะประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก จากการที่กิจการต้องหยุดชั่วคราว โดนลดเงินเดือน หรือ ต้องออกจากกงานเป็นต้น

  • แผนลงทุนระยะกลาง :  เราสามารถลงทุนในพวกกองทุน หรือ สินค้าการเงินที่ได้ลดหย่อนภาษีไปด้วยเช่น SFF ประกันสะสมทรัพย์ หรือ สินค้าทางเลือกอื่นๆที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมา เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น  เป็นแผนที่เตรียมไว้สำหรับช่วงเวลา 5-10 ปี เช่น ท่องเที่ยว ปรับปรุงบ้าน ซื้อบ้านใหม่ ซื้อรถ เป็นต้น

แผนการเงินตัวนี้มักจะเป็นที่นิยมเนื่องจากลงทุนสั้น ได้ใช้ประโยชน์คุ้มค่า ทั้งลดหย่อนภาษี ได้ลุ้นผลตอบแทนจากการลงทุน และ มีไว้เพื่อเติมเต็มความสุขของตัวเองในปัจจุบัน แต่จะบอกว่า หากท่านใดจัดเต็มแผนนี้ไว้ มันจะกลายเป็นแผนเกษียณในอนาคตของคุณได้อีกด้วย  เรียกได้ว่า มีความสุขทั้งปัจจุบัน และ อนาคต  โดยส่วนตัวจึงขอแนะนำว่าแผนนี้มีเท่าไหร่จัดให้หมด

  • แผนลงทุนระยะยาว :  เกษียณยังไงให้ลัลล้า มีเงินใช้ทุกเดือนแน่ๆ แนะนำ สินค้าการเงินที่ลงทุนครั้งเดียวได้ประโยชน์ 2 เด้ง ทั้งวางแผนภาษี และ เกษียณ นั้นคือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) , RMF และ  ประกันบำนาญ  สินค้าการเงิน 2 ตัวแรก เน้นลงทุนในกองทุนรวม การลงทุนในระยยะยาว ค่อนข้างมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดี นั้นคือเอาชนะตลาดได้  ยกตัวอย่าง ปู่บัฟเฟท เจ้าพ่อแห่งการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ที่ชอบการลงทุนระยะยาว เพื่อรอรับผลตอบแทนสูงๆ ในอนาคต และ สินค้าการเงินอีกตัวควรมีติดตัวไว้เลย คือ ประกันบำนาญ ตัวนี้การันตีผลตอบแทนแน่นอน ไม่ว่าช่วงนั้น ที่เราเกษียณ จะเกิดปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง โรคระบาด หรือ อะไรก็ตาม จะมีเงินไหลเข้าบัญชีเป็นประจำตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ 

เห็นแผนแห่งอนาคตแบบนี้แล้ว ลองนึกภาพตัวเอง ว่าอยากมีชีวิตเกษียณแบบไหน กินหรู อยู่สบาย แบบสไตล์ของเรายังไง ตั้งยอดตัวเลขไว้ในใจ  แต่ละเดือนต้องใช้เงินเท่าไหร่ ขออย่างเดียว อย่าบอกว่าเราจะใช้น้อยลง เพราะแก่แล้ว ตามสถิติ คนเราเคยใช้ชีวิตแบบไหน อย่างน้อยจะใช้เท่าเดิม หรือ เพิ่มขึ้น ยิ่งแก่แล้ว ยิ่งอยากได้รับการดูแลดีๆ สะดวกสบายมากขึ้น ดังนั้นคำนวนสูงๆไว้ก่อน เหลือดีกว่าขาด

B Napat

FChFP & Investment Consultant